วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดตราด เช่นอ่าวตาลคู่และเกาะช้าง


อ่าวตาลคู่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3156 เลยทางแยกเข้าเกาะปุยประมาณ 5 กม. จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กม. ชายหาดอ่าวตาลคู่เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อน เพราะมีความสวยงามและอากาศดี ชาวตราดและนักท่องเที่ยวทั่วไปนิยมไปพักผ่อนในช่วงวันหยุด หรือไปนั่งรับประทานอาหาร ชมวิว รับลมทะเล 

เกาะช้าง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะทะเลอ่าวไทยและใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากภูเก็ต มีเกาะเล็ก เกาะน้อยรวมกันกว่า 50 เกาะ มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา ที่เกาะช้างนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายหลายแห่ง มีน้ำตกที่ขึ้นชื่อคือน้ำตกธารมะยม น้ำตกคลองพลู ชายหาดที่สวยงามก็มีอยู่มากมาย ได้แก่ หาดทรายขาว หาดคลองพร้าว หาดไก่แบ้ เป็นต้น การเดินทางไปเกาะช้างสะดวก สบาย มีท่าเรือเฟอรี่อยู่ 2 ท่า หรือจะเช่าเหมาเรือประมงบริเวณท่าเรือแหลมงอบก็ได้
อ้างอิงhttp://www.tradnews.com/tourist_attraction_th.html

ประวัติยุทธนาวีเกาะช้าง


ยุทธนาวีที่เกาะช้างเป็นเหตุการณ์การรบทางเรือ ซึ่งเกิดขึ้นสืบเนื่องจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส เป็นเหตุการณ์ซึ่งแทรกเข้ามาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังรบติดพันกันในยุโรป กล่าวคือในเดือนกันยายน พ.ศ. 2483 ขณะที่ฝรั่งเศสจะประกาศสงครามกับเยอรมนี ฝรั่งเศสได้ขอให้รัฐบาลไทย ทำสัญญาไม่รุกรานกันทางแหลมอินโดจีน รัฐบาลไทยได้ตอบฝรั่งเศสไปว่า ไทยยินดีจะรับข้อตกลงตามคำขอของฝรั่งเศส แต่ขอให้ฝรั่งเศสตกลงบางประการ คือให้ฝรั่งเศสปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดนให้ถูกต้อง ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักความยุติธรรม โดยฝ่ายไทยได้เสนอให้ถือแนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ และให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไป คืนให้ไทย เป็นต้น แต่ปรากฏว่าไม่เป็นที่ตกลงกัน ต่อมาราษฎรได้เดินขบวนแสดงประชามติ เรียกร้องดินแดนที่เสียไปอย่างหนักและรุนแรงยิ่งขึ้น การเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้โดยสันติวิธี ฝรั่งเศสได้โจมตีประเทศไทยก่อน โดยส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 อันเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ที่ใช้กำลังทหารเข้าสู้รบกันทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ สำหรับกำลังทางเรือได้มีการรบกันที่บริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง ระหว่างกำลังทางเรือของไทย และของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2484

เมื่อฝรั่งเศสเริ่มรุกรานประเทศไทย โดยส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนมแล้ว กองทัพเรือเริ่มดำเนินการตามคำสั่งในแผนชั้นต้นนั้น ได้จัดส่งกำลังไปป้องกันตำบลคลองใหญ่ จังหวัดตราด อันเป็นตำบลชายแดนสุดทางตะวันออก ซึ่งติดต่อกับเขตอินโดจีนฝรั่งเศส ทั้งนี้เพื่อป้องกันประเทศ และให้เกิดความอบอุ่นใจแก่ราษฎรในเขตนั้น และได้เริ่มทำการลำเลียงทหารนาวิกโยธินอันเป็นกำลังส่วนใหญ่ของกองพลจันทบุรี ไปยังจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด
การลำเลียงทหารอาวุธยุทโธปกรณ์ ยุทธสัมภาระ และอื่นๆ ไปยังจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ในระหว่างกรณีพิพาทครั้งนี้รวมทั้งสิ้น ไม่น้อยกว่า 15 ครั้ง แต่ละครั้งมีการจัดกำลังทางเรือคอยควบคุมและคุ้มกันตามยุทธวิธีทุกครั้ง
สำหรับแผนขั้นต่อมา กองทัพเรือได้จัดให้มีการลาดตระเวนค้นหาข้าศึก นอกจากนั้นเพื่อป้องกันการยกพลขึ้นบกของข้าศึก ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย กองทัพเรือได้รวมกำลังเป็นครั้งคราว แถวบริเวณเกาะช้างและเกาะกูด ได้ดำเนินการลาดตระเวน จัดการรักษาด่าน ตรวจด่าน ด้วยการที่กองทัพเรือมารวมกำลัง อยู่ในบริเวณนี้ ย่อมทำความอบอุ่นใจให้แก่ราษฎรชายฝั่งตะวันออก บริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด และตำบลคลองใหญ่ ให้ความปลอดภัยแก่การเดินเรือ การค้าขายตามชายฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย
อ้างอิงhttp://www.navy.mi.th/navalmuseum/002_history/html/his_b23_gauchang_thai.htm

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

Server หรือ เซิร์ฟเวอร์ คืออะไร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์



เซิร์ฟเวอร์ คือ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับทำหน้าที่ บริการสิ่งต่างๆ กับไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นๆ ที่เป็นลูกข่าย เช่น เรื่องเกี่ยวกับการจัดการระบบใช้ไฟล์ข้อมูล และทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันเป็นระบบเน็ตเวิร์ก เป็นต้น ซึ่งไฟล์ต่างๆ ที่ใช้ภายในระบบเน็ตเวิร์ก จะถูกเก็บไว้ในฮาร์ดิสก์ของเซิร์ฟเวอร์ แทนที่จะเก็บไว้ในฮาร์ดิสก์ของสถานีใช้งานของแต่ล่ะเครื่อง เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิ์ภาพ ซึ่งเป็นข้อดีของระบบ เน็ตเวิร์กข้อหนึ่ง ระบบปฏิบัติการที่ใช้เซิร์ฟเวอร์ เรียกว่า "Netware Operrating System" (NOS) 
อ้างอิงhttp://everythingofit.blogspot.com/2012/02/server.html

ประวัติความเป็นมาของวันปีใหม่

1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ (Happy New Year) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

วันขึ้นปีใหม่ไทยประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่
ใน สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์
ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทย ต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58
อ้างอิงhttp://scoop.mthai.com/specialdays/3439.html

ข้อมูล I Phone 6s


หลังจาก iPhone 6s และ iPhone 6s Plus เปิดวางจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ผู้ใช้ในบ้านเราต่างก็ให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก โดยรุ่นยอดฮิตคงหนีไม่พ้นiPhone 6s สีทองกุหลาบ หรือสีชมพู (Rose Gold) ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากที่สุดในขณะนี้ ทางทีมงาน Thaimobilecenter จึงไม่รอช้ารีบหามาจับจอง และทดสอบการใช้งานในฟังก์ชันต่างๆ เพราะ iPhone 6s รุ่นนี้มีความพิเศษตรงที่เป็นสมาร์ทโฟนซีรีส์ "S" ที่มาพร้อมกับการอัปเกรดครั้งใหญ่ และน่าจะมากที่สุดในซีรีส์นี้ด้วย

iPhone 6s มาพร้อมการอัปเกรดหลักๆ อย่าง ตัวเครื่องที่เปลี่ยนมาใช้วัสดุ อะลูมิเนียมเกรด 7000 (Aluminium-700) เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง, หน่วยความจำแรม (RAM) ที่เพิ่มขนาดเป็น 2GB, กล้องดิจิทัลiSight ด้านหลังพัฒนาความละเอียดขึ้นมาเป็น 12 ล้านพิกเซล, กล้องดิจิทัล FaceTime ด้านหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล, ระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุด iOS 9.0 และฟีเจอร์สำคัญที่ถือเป็นพระเอกของรุ่นนี้อย่างหน้าจอ 3D Touch สุดล้ำที่สามารถแยกแยะน้ำหนักของแรงกดบนหน้าจอได้ รวมถึงการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ และการใช้งานอีกมากมาย ซึ่งทุกท่านสามารถติดตามชมได้ใน รีวิว (Review) iPhone 6s 

อ้างอิง http://www.thaimobilecenter.com/news-2557/iphone-6s.asp

ประวัติดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์

 


ประวัติดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์  
         ในสมัยนี้ เมื่อบ้านเมืองได้ผ่านพ้นจากภาวะศึกสงครามและได้มีการก่อสร้างเมือง ให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น เกิดความสงบร่มเย็น โดยทั่วไปแล้ว ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ก็ได้รับการฟื้นฟูทะนุบำรุง และส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยเฉพาะ ทางด้านดนตรีไทย ในสมัยนี้ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเจริญขึ้นเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้ คือ
         สมัยรัชกาลที่ 1 ดนตรีไทยในสมัยนี้ส่วนใหญ่ ยังคงมีลักษณะและ รูปแบบตามที่มี
มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาที่พัฒนาขึ้นบ้างในสมัยนี้ก็คือ การเพิ่มกลองทัด ขึ้นอีก 1 ลูก ใน วงปี่พาทย์ ซึ่งแต่เดิมมา มีแค่ 1 ลูก พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 วงปี่พาทย์ มีกลองทัด 2 ลูก เสียงสูง (ตัวผู้) ลูกหนึ่ง และเสียงต่ำ (ตัวเมีย) ลูกหนึ่ง และการใช้กลองทัด 2 ลูก ในวงปี่พาทย์ก็เป็นที่นิยมกันมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้
         สมัยรัชกาลที่ 2 อาจกล่าวว่าในสมัยนี้ เป็นยุคทองของดนตรีไทยยุคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ องค์พระมหากษัตริย์ ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ ในทางดนตรีไทย ถึงขนาดที่ทรงดนตรีไทย คือ ซอสามสาย ได้ มีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ทั้งพระองค์ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยขึ้นเพลงหนึ่งเป็นเพลงที่ไพเราะ และอมตะ มาจนบัดนี้นั่นก็คือเพลง "บุหลันลอยเลื่อน"
         การพัฒนาเปลี่ยนแปลงของดนตรีไทยในสมัยนี้ก็คือ ได้มีการนำเอาวงปี่พาทย์
มาบรรเลงประกอบการขับเสภาเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังมีกลองชนิดหนึ่งเกิดขึ้น โดยดัดแปลงจาก "เปิงมาง" ของมอญ ต่อมาเรียกกลองชนิดนี้ว่า "สองหน้า" ใช้ตีกำกับ
จังหวะแทนเสียงตะโพนในวงปี่พาทย์ประกอบการขับเสภา  เนื่องจากเห็นว่าตะโพน
ดังเกินไป  จนกระทั่งกลบเสียงขับ กลองสองหน้านี้ปัจจุบันนิยมใช้ตีกำกับจังหวะหน้าทับ ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง

อ้างอิง  http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/Prawatrattanaksin.html

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

วันไปทัศนศึกษา

รู้สึกสนุกมากที่ได้มาที่ มินิสยามในพัทยา จ.ชลบุรี